วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เราจะแก้ปัญหาต่างๆอย่างไรดี

กระบวนการแก้ไขปัญหา

มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้
   
      1. วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
               ขั้นตอนนี้ต้องทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดของปัญหาก่อนว่า
                   - สิ่งที่ต้องทำคืออะไร
                   - มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
                   - แนวทางหรือประสบการณ์เดิมที่เคยมีอยู่มีอะไรบ้าง เพียงพอต่อการแก้ปัญหาได้หรือไม่ หรือ
                     ถ้าไม่เพียงพอจะต้องเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง                    
 
       2. วางแผนการแก้ปัญหา
                เป็นการหาวิธีการแก้ปัญหาว่า ต้องใช้ความรู้ อุปกรณ์ เครื่องมือ และขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างไร
          การวางแผนแก้ปัญหาควรหาทางเลือกที่หลากหลายวิธี และบันทึกทางเลือกที่เป็นไปได้ไว้ทุกๆประเด็น

       3. ดำเนินการแก้ปัญหา
                 เป็นการกระทำตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งในระหว่างลงมือปฏิบัิติอาจพบแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าวิธีที่คิดไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีได้

       4. ตรวจสอบและปรับปรุง
                  เมืื่อดำเนินการแก้ปัญหาเสร็จแล้ว ควรนำผลที่ได้่มาตรวจสอบว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องจะได้นำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาครั้งต่อไป แต่ถ้าไม่ถูกต้องจะได้ปรับปรุงวิธีการใหม่เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ตัวอย่าง ปัญหา : นักเรียนลืมนำเงินมาโรงเรียน จึงไม่มีเงินซื้ออาหารกลางวัน
  ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
                        1) สิ่งที่ต้องการ คือ ทำอย่างไรจะได้รับประทานอาหารกลางวัน
                        2) สิ่งที่รู้แล้ว คือ ไม่มีเงินซื้ออาหารกลางวัน เพราะลืมนำเงินมา
                        3) เงื่อนไข   
                                   * นักเรียนไม่สามารถกลับบ้านเพื่อไปเอาเงินได้
                        4) แนวทางหรือประสบการณ์เดิม
                                   * ยอมอดอาหารกลางวัน
                        5) แนวทางใหม่
                                   * ปรึกษาเพื่่อนคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์คล้ายกัน
                                   * ปรึกษาครูแนะแนวหรือครูประจำชั้น
                                   * ขอรับประทานอาหารกับเพื่อนสนิท
 ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการแก้ปั้ญหา
                       1) บันทึกทางเลือกไว้ทุกประเด็นที่สามารถเป็นไปได้
                       2) ลำดับความเป็นไปได้มากที่สุดของการแก้ปัญหา 2-3 วิธี เช่น 
                                   * ยอมอดอาหาร
                                   * ขอรับประทานอาหารกับเพื่อนสนิท
                                   * บอกเหตุผลกับครูประจำชั้นล
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการแก้ัปัญหา
                                   * ยอมอดอาหารกลางวัน (*ถ้าในขณะดำเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีอดอาหารกลางวัน เมือครูทราบเรื่องแล้วให้ยิมเงินไปซื้ออาหาร นักเรียนก็สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีแก้ปัญหาได้)
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและปรับปรุง
                                   * เมื่อดำเนินการแก้ปัญหาโดยยอมอดอาหารกลางวันแล้ว นักเรียนต้องนำผลการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้มาตรวจสอบว่าเป็นวิธีที่ดีหรือไม่ดี เช่น เมื่ออดอาหารกลางวันแล้วทำให้ปวดท้อง ไม่สามารถเรียนต่อได้ แสดงว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ดี นักเรียนต้องปรับปรุงและเปลี่ยนวิธีใหม่ที่ดีกว่านี้ ถ้าปัญหาเดิมซ้ำอีก


ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.

--------------------------------------------------------------------------------

คำถาม 

        นักเรียนคิดว่าขั้นตอนใดในการแก้ปัญหามีความสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ให้ตอบในช่องแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งระบุชื่อของผู้ตอบด้วย

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดการข้อมูลสารสนเทศ

การจัดการข้อมูลสารสนเทศ




มีวิธีการจัดการข้อมูลสารสนเทศดังต่อไปนี้
         
         1. การรวบรวมข้อมูล   หมายถึง  การนำข้อมูลจากหลายๆแหล่งข้อมูลและหลายๆชุดข้อมูล มาจัดเก็บไว้เพื่อรอการคัดกรอง ตรวจสอบ ก่อนนำไปจัดทำเป็นสารสนเทศต่อไป
        
         2. การตรวจสอบข้อมูล  
                   ข้อมูลที่ได้มาจากการสืบค้นบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมากมายนั้น ก่อนจะนำไปประมวลผลเพื่อจัดทำสารสนเทศ ควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และเลือกเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับเป้าหมายการนำไปใช้เท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลมีประเด็นที่ควรคำนึงดังนี้
              - ข้อมูลมีความถูกต้องและทันสมัย
              - มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือกำกับไว้
              - ผู้เขียนเนื้อหาเป็นใคร เป็นหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ หรือบุคคลทั่วไป
              - ถ้าเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน หากหลายๆแหล่งข้อมูลกล่าวไว้ตรงกัน ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
          
         3. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
                   เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลตามที่สนใจจากที่ต่างๆแล้ว ให้นำข้อมูลมาดำเนินการอาจเป็นการคำนวณกรณีข้อมูลเป็นตัวเลข  หรือเรียงลำดับ จัดกลุ่ม ซึ่งล้วนเป็นการประมวลผล (processing) ทั้งสิ้น การประมวลผลข้อมูลสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
                  3.1 การเตรียมข้อมูล (Input)  ในขั้นตอนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลให้เหมาะสม เช่น การทำรหัสแทนข้อมูลจริง เช่น ชาย แทนด้วย 1 ส่วนหญิง แทนด้วย 2 จากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อคอมพิวเตอร์ 
                  3.2 การประมวลผล  (Processing) นำข้อมูลมามาดำเนินการคำนวณเพื่อหาค่าทางสถิติต่างๆ ปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในคำนวณ 
                  3.3 การรายงานผล (Output)  เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ที่ต้องการสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างสะดวก ง่าย และมองเห็นภาพ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตาราง ภาพ แผนภูมิชนิดต่างๆ 

            4. การเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
                    เมื่อได้ข้อมูลและสารสนเทศแล้ว ควรมีการเก็บรักษาไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศดัวย ดังนี้
                   4.1 การบันทึกข้อมูลในสือบันทึกต่างๆ เช่น ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (Hard Disk) แผ่นดิสก์ (Diskette)  และในการเลือกสื่อบันทึกข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงความทนทาน สะดวกต่อการจะเรียกใช้งาน
                   4.2 การทำสำเนาถาวร  เป็นการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการแจกจ่ายข้อมูลและสารสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์หรือการส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ ดังนั้นการทำสำเนาจึงต้องมีความสำคัญ ซึ่งการทำสำเนาเอกสารมีหลายแบบ เช่น การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร จัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล การถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นต้น
          สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการเก็บรักษาข้อมูล จาก                 www.school.obec.go.th/kudhauchangless5011.htm

ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.

**************************************************************

ใบงาน  

           ให้นักเรียนสร้างเนื้อหาความรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ มาอย่างน้อย 5 ชนิด  ลงในบล็อกส่วนตัวและจัดทำลิงค์เชื่อมโยงบนกระดานแสดงความคิดเห็นมาด้วย 

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบสารสนเทศ O-NET ปี 50

1. คำถาม ข้อใดคือการทำรายงานโดยค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่ถูกต้อง ?
1. ค้นหาบทความในอินเตอร์เน็ตโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงาน
2. ค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาทำรายงาน พร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ
3. ค้นข้อมูลเพื่อทำรายงาน โดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงาน พร้อมอ้างอิง search engine
4. ค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ search engine แล้วอ่านข้อความสรุปใจความรายงานพร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ

ปล. นักเรียนเลือกข้อใด พร้อมระบุชื่อผู้ตอบมาด้วยครับ

เฉลย  ข้อ 4  คำอธิบาย ในการทำรายงานโดยค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่ถูกต้อง ผู้จัดทำจะต้องค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ search engine เช่น google, bing, yahoo เป็นต้น  แล้วอ่านข้อความสรุปใจความรายงานพร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ เพื่อสามารถกลับไปค้นหาข้อมูลอีกครั้งในโอกาสต่อไป