วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ usb flash drive เปิดใช้งานไม่ได้ และฟ้องให้ format ตลอด

วิธีแก้ usb flash drive เปิดใช้งานไม่ได้ และฟ้องให้ format ตลอด 

1. เสียบ flash drive ต่อกับเครื่อง
2. ในหน้า windows explorer ให้ click ขวา ที่ My computer และกดเข้าไปที่ Manage
3. ในหน้าต่างด้านซ้าย จะเห็นหัวข้อ Storage ให้ไป click ที่ Disk Management
4. ดูที่หน้าต่างด้านขวา จะเห็น Flash drive ที่เราเสียบ ขึ้นเป็น Disk n (อาจเป็นเลข 1, 2 หรือ 3 ตามแต่จำนวน Disk ในเครื่อง) แต่สังเกตุได้ว่า บรรทัดล่าง จะเขียนว่า Removable
5. ขั้นตอนสำคัญละ ทีนี้ หากเห็นว่าช่องด้านขวาของ Disk ที่เป็น flash drive ของเราเขียนว่า Unallocated ให้ Click ขวาตรงช่องที่เป็น Unallocated นั้น และเลือก new partition ตอบตกลง
6. รอจน format เสร็จ ก็จะใช้งาน flash drive ได้อีกครั้ง


วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย

2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย


ให้นักเรียนตอบคำถามลงในบล็อกของนักเรียน

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบ O-net วิชาคอมพิวเตอร์ ชั้น ป.6 ชุดที่ 2

1. วัสดุชนิดใดที่ได้มาจากการใช้เทคโนโลยี
      ก. ก้อนหินที่ได้มาจากภูเขาไประเบิด
      ข. ไม้ที่นำมาจากป่าดงดิ
      ค. ฟุตบอลสีแดงสด
      ง. ไม่มีข้อถูก


2. ชิป (Chip) เป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ทำมาจากอะไร
      ก. น้ำ
      ข. ดิน
      ค. หิน
      ง. ทรายหรือชิลิกอน


3. คำว่า "โลกไร้พรหมแดน" นักเรียนคิดว่าเกี่ยวข้องกับอะไร
      ก. คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
      ข. การติดต่อสื่อสารที่ทำได้รวดเร็วมาก
      ค. การทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
      ง. การเรียนรู้ในยุคปฎิรูปการศึกษา


4. ข้อความใดที่ให้ความหมายคำว่า "ฮาร์ดแวร์" ได้ชัดเจนที่สุ

    ก. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด
    ข. อุปกรณ์ที่มองเห็นได้แต่จับต้องไม่ได
    ค. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการสื่อสาร
    ง. โปรแกรมเมอร์
5. ข้อความใดคือซอฟต์แวร์
      ก. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด
      ข. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มองเห็นได้แต่จับต้องไม่ได้
      ค. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการสื่อสาร
      ง. โปรแกรมเมอร์

6. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์หน่วนใดที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมด
      ก. หน่วยรับข้อมูล
      ข. หน่วยประมวลผล
      ค. หน่วยแสดงผล
      ง. หน่วยเก็บข้อมูล

7. CAI คืออะไร
     ก. เทคโนโลยีช่วยสอน
     ข. เทคโนโลยีการออกแบบงาน
     ค. การออกแบบงานเอกสาร
     ง. ผิดทุกข้อ

8. แท็บเล็ตสอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้
     ก. แล็ปท็อป
     ข. พีซี
     ค. จอทัสกรีน
     ง.  โทรศัพท์มือถือ

9. มานีกำลังใช้งานแอพลิเคชั่นบนแท็บเล็ต คำว่า "แอพลิเคชั่น" คือความหมายเดียวกับข้อใด
    ก. ฮาร์ดแวร์
    ข. ซอฟท์แวร์
    ค. บุคลากร
    ง. โปรแกรมเมอร์

10. ข้อใดคือขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
    ก. การบันทึกประวัตินักเรียนที่มาเข้าเรียน
    ข. พนักงานไฟฟ้าทำการจดตัวเลขบนมิเตอร์แสดงการใช้ไฟฟ้า
    ค. การจัดเก็บข้อมูลลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อไว้ใช้งานต่อไป
    ง. ข้อ ก. และ ข.

 11. “ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง ฯลฯ” ความหมายที่กล่าวถึง หมายถึงข้อใด
    ก. ข้อมูล
    ข. สารสนเทศ
    ค. ข้อมูลปฐมภูมิ
    ง. ข้อมูลทุติยภูมิ

12. ส่วนประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของมนุษย์ ส่วนประกอบนี้หมายถึงข้อใด
    ก. บุคลากร
    ข. ซอฟต์แวร์
    ค. ขั้นตอนการปฏิบัติ
    ง. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์


13. ข้อใดหมายถึงข้อมูลทุติยภูมิ 
    ก. ทะเบียนรถยนต์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ข. คะแนนสอบวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้น ป.6
    ค. น้ำหนักของเพื่อนนักเรียนที่ไปสอบถามจากเพื่อนนักเรียน
    ง. รายได้ของอาจารย์ในโรงเรียนที่ไปสอบถามมาเอง
14. ขั้นตอนนี้ “การหาค่าเฉลี่ยของคะแนนวิชาคอมพิวเตอร์” หมายถึงข้อใด 
    ก. การจัดเก็บ
    ข. การคำนวณ
    ค. การทำรายงาน
    ง. การตรวจสอบข้อมูล

15. หน้าที่ของหน่วยความจำประเภทแฟลชไดว์ ตรงตามข้อใด
    ก. เก็บข้อมูล
    ข. เก็บผลลัพธ์
    ค. เก็บรูปภาพ
    ง. เก็บข้อมูล เก็บรูปภาพ เก็บผลลัพธ์

16. หน่วยความจำใดที่ใช้ในการจำข้อมูลและคำสั่งขณะที่เครื่องทำงาน หน่วยความจำนี้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ได้ตลอดเวลาที่ยังเปิดเครื่อง

   ก. รอม (ROM)
   ข. แรม (RAM) 
   ค.  ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
   ง.  แฟลชไดว์ (Flash Drive)

17. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของหน่วยความจำรองได้ถูกต้อง
   ก. บรรจุคำสั่งในการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ
   ข. เก็บชุดคำสั่งข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลงานที่ต้องการ
   ค. เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งที่ต้องการเก็บไว้สำหรับใช้งานต่อไป
   ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.

18. หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่ ตรงตามข้อใด
   ก. รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
   ข. รับโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
   ค. รับข้อมูลและโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผล
   ง. รับข้อมูลและโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเตรียมประมวลผล



19. อุปกรณ์ในข้อใด ไม่อยู่ในหน่วยรับข้อมูล

   ก. เมาส์ (Mouse)
   ข. เครื่องพิมพ์ (Printer)
   ค. แป้นพิมพ์ (Keyboard)
   ง. เครื่องขับแผ่นบันทึก (Disk Drive)

20. วันหยุดเด็กชายเอจะใช้คอมพิวเตอร์อยู่คนเดียวทั้งวันจะเกิดปัญหาในข้อใดมากที่สุด
   ก. เกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
   ข. เกิดการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม
   ค. ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
   ง. มีการพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายล้างสูง

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

เตรียมสอบ O-net ป.6 วิชาคอมพิวเตอร์


ข้อ 1. อินเทอร์เน็ตคืออะไร
             1. ระบบการค้นหาข้อมูลในเว็บ
             2. การส่งสัญญาณเพื่อสื่อสารกัน
             3. ระบบเล่นเกมส์ออนไลน์ทั่วโลก
             4. เครือข่ายที่เชื่อมต่อหลายเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั่วโลก



ข้อมูลนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 2
1. ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ
2. อย่านำแม่เหล็กเข้าใกล้
3. ปิดทุกครั้งหลังใช้งาน
4. อย่าให้เป็นรอยขูดขีด และไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง


ข้อ 2. ข้อใดคือข้อปฏิบัติที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อการดูแลรักษาจอภาพ
             1. 1 2 3
             2. 1 2 4
             3. 2 3 4
             4. 1 3 4

ข้อ 3. ข้อใดคือข้อปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับเยาวชนในการใช้อินเทอร์เน็ต
             1. ใช้อินเทอร์เน็ตสนทนากับทุกคนอย่างเป็นกันเอง
             2. ค้นหาดูข้อมูลรูปภาพในเว็บไซต์ทั้งหมดตามกระแสนิยม
             3. พบปะกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตผู้ปกครอง
             4. ใช้นามแฝงและไม่บอกที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ให้คนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต

ข้อ 4. นักเรียนใช้งานโปรแกรมเพ้นท์ ทำการ์ดวันเกิดให้คุณพ่อ นักเรียนจะเขียนข้อความ
โดยให้ลากเมาส์เขียนคำอวยพร ควรเลือกใช้งานกล่องเครื่องมือใด



ข้อ 5. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ประเภทหน่วยความจำ
          1. ลำโพง ซีพียู
          2. ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม
          3. แฟลชไดร์ฟ คีย์บอร์ด
          4. จอภาพ เครื่องพิมพ์


ข้อ 6. ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ ต้องจัดเก็บเอกสารแบบใด
1. ตามตัวเลข
2. ตามตัวอักษร
3. ตามภูมิศาสตร์
4. ตามชื่อสาขา

ข้อ 7. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Commerce) หมายถึงข้อใด
1. การส่งโทรเลข สั่งซื้อสินค้า
2. การส่งแฟกซ์ติดต่อการค้า
3. การใช้บัตรเครดิตชำระเงินค่าสินค้า
4. การค้าขายที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 8. การสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากผู้ขายไปสู่ลูกค้า
เป็นธุรกรรมข้อใด
1. E-Mail
2. E-Banking
3. E-Exhibition
4. E-Advertising

ข้อ 9. ข้อใดคือการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. E-News
2. E-Payment
3. E-Learning
4. E-Sourcing

ข้อ 10. ข้อใดเป็นการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานอย่างเหมาะสม
และคุ้มค่าต่อการลงทุน
1. ใช้ในงานฟาร์มเลี้ยงปลาในกระชัง
2. ใช้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล
3. ใช้ในการปลูกผักในแปลงเกษตรดั้งเดิม
4. ใช้ในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ของโรงงาน

ข้อ 11. "การเตรียมวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ โดยปอกเปลือกท่อนไม้ด้วยเครื่อง
ปอกเปลือก ล้างท่อนไม้และส่งเข้าสู่เครื่องสับให้มีขนาดเล็ก แล้วคัดขนาด
ก่อนเข้าสู่การแยกเส้นใย" สิ่งใดที่จัดเป็นตัวป้อน (Input) ในระบบเทคโนโลยี
1. ท่อนไม้
2. เครื่องปอกเปลือก
3. เครื่องสับไม้
4. น้ำที่ใช้ล้าง

ข้อ 12. การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องกำหนดรหัสแทนข้อมูลเช่นรหัสแอสกี (ASCII)
เนื่องจากเหตุผลหลักข้อใด
1. เพื่อสามารถเข้าใจชุดคำสั่ง
2. เพื่อความรวดเร็วในการใช้งาน
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องประมวลชุดคำสั่งที่เขียนโดยภาษาโปรแกรม
4. เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เป็นไป
ในแนวเดียวกัน

ข้อ 13. "บริษัทผลิตผลไม้แปรรูปแห่งหนึ่งได้ศึกษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเพื่อใช้เป็น
แนวทางพัฒนาลำไยแปรรูปที่จะส่งไปขายยังประเทศจีน"
การศึกษาวัฒนธรรมการกินของคนจีนเป็นขั้นตอนใดในกระบวนการเทคโนโลยี
1. กำหนดปัญหา
2. รวบรวมข้อมูล
3. เลือกวิธีการ
4. ปรับปรุงแก้ไข

ข้อ 14. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับวิวัฒนาการของวงจรคอมพิวเตอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
1. หลอดสุญญากาศ , วงจรไอซี , ทรานซิสเตอร์ , วงจรรวมความจุสูง
2. ทรานซิสเตอร์ , หลอดสุญญากาศ , วงจรไอซี , วงจรรวมความจุสูง
3. หลอดสุญญากาศ , ทรานซิสเตอร์ , วงจรไอซี , วงจรรวมความจุสูง
4. ทรานซิสเตอร์ , วงจรไอซี , หลอดสุญญากาศ , วงจรรวมความจุสูง

ข้อ 15. ทำไมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงใช้ระบบเลขฐานสอง
1. เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ภาษาเครื่อง
2. เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจภาษามนุษย์
3. เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงาน
แบบแอนะล็อก
4. เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัล
โดยใช้แรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียงสองสถานะ

ข้อ 16. กระบวนงานในข้อใดเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
1. เช็คสถานะของฮาร์ดแวร์
2. โหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลัก
3. หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลัก
แบบแก้ไขได้ (RAM)
4. หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลัก
แบบอ่านได้อย่างเดียว (ROM)

ข้อ 17. ข้อใดเป็นความหมายของภาษาโปรแกรมระดับสูง
1. ภาษามนุษย์ที่ใช้สื่อสารกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น
2. ภาษาที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสองซึ่งคอมพิวเตอร์ใช้ประมวลผลได้ทันที
3. ภาษาที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนคำสั่งมาจากคำศัพท์
ภาษาอังกฤษ
4. ภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องหรือที่เรียกว่า ภาษาอิงเครื่อง
(machine-oriented language)

ข้อ 18. สื่อกลางที่ใช้มากในการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายแลนคือข้อใด
1. สายคู่บิดเกลียว
2. สายโคแอกเชียล
3. สายเส้นใยนำแสง
4. สายโทรศัพท์

ข้อ 19. ทำไมจึงมีการใช้งานระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเพิ่มมากขึ้นในประเทศ
ที่กำลังพัฒนา
1. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมีราคาถูก
2. หาซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายได้ง่าย
3. ใช้งบลงทุนสูงในการวางสายระบบเครือข่ายสื่อสาร
4. สะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ
เครือข่ายการสื่อสาร

ข้อ 20. ข้อใดเป็นระบบปฏิบัติการทั้งหมด
1. Unix , Mac OS , Microsoft Office
2. Linux , Windows , Mac OS , Symbian
3. PDA , WWW , Linux , Windows
4. BIOS , Symbian , IPX , RAM

ข้อ 21. ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้ด้วยปัจจัยในข้อใด
1. CRT
2. Dot pitch
3. Refresh rate
4. Color quality

ข้อ  22. ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงช่วยลดภาวะโลกร้อน
1. ปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งาน และพิมพ์งานเมื่อจำเป็น
2. เลือกใช้จอแอลซีดีและปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย
3. ใช้คอมพิวเตอร์วันละ 1 ชม. และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
4. ไม่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายและ ใช้เครื่องพิมพ์แบบ inkjet เท่านั้น

ข้อ  23. ข้อใดคือวิธีทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง
1. ค้นหาบทความในอินเทอร์เน็ตโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมา
เป็นรายงาน
2. ค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาทำรายงาน
พร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ
3. ค้นข้อมูลเพื่อทำรายงานโดยใช้ search engine แล้วคัดลอกมาเป็นรายงาน
พร้อมอ้างอิง search engine
4. ค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยใช้ search engine แล้วอ่านข้อความ สรุปใจความ
รายงาน พร้อมอ้างอิงเอกสารต้นฉบับ

ข้อ  24. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ประเภทส่งออกข้อมูล
   1. ซีดีรอม  กล้องดิจิตอล  ซีพียู
   2. ฮาร์ดิส   ลำโพง  จอสัมผัส
   3. ลำโพง  เครื่องพิมพ์  จอภาพสัมผัส
   4. จอภาพสัมผัส  เครื่องพิมพ์  ไมโครโฟน



วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เราจะแก้ปัญหาต่างๆอย่างไรดี

กระบวนการแก้ไขปัญหา

มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้
   
      1. วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
               ขั้นตอนนี้ต้องทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และกำหนดรายละเอียดของปัญหาก่อนว่า
                   - สิ่งที่ต้องทำคืออะไร
                   - มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
                   - แนวทางหรือประสบการณ์เดิมที่เคยมีอยู่มีอะไรบ้าง เพียงพอต่อการแก้ปัญหาได้หรือไม่ หรือ
                     ถ้าไม่เพียงพอจะต้องเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง                    
 
       2. วางแผนการแก้ปัญหา
                เป็นการหาวิธีการแก้ปัญหาว่า ต้องใช้ความรู้ อุปกรณ์ เครื่องมือ และขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างไร
          การวางแผนแก้ปัญหาควรหาทางเลือกที่หลากหลายวิธี และบันทึกทางเลือกที่เป็นไปได้ไว้ทุกๆประเด็น

       3. ดำเนินการแก้ปัญหา
                 เป็นการกระทำตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งในระหว่างลงมือปฏิบัิติอาจพบแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าวิธีที่คิดไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีได้

       4. ตรวจสอบและปรับปรุง
                  เมืื่อดำเนินการแก้ปัญหาเสร็จแล้ว ควรนำผลที่ได้่มาตรวจสอบว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องจะได้นำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาครั้งต่อไป แต่ถ้าไม่ถูกต้องจะได้ปรับปรุงวิธีการใหม่เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ตัวอย่าง ปัญหา : นักเรียนลืมนำเงินมาโรงเรียน จึงไม่มีเงินซื้ออาหารกลางวัน
  ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
                        1) สิ่งที่ต้องการ คือ ทำอย่างไรจะได้รับประทานอาหารกลางวัน
                        2) สิ่งที่รู้แล้ว คือ ไม่มีเงินซื้ออาหารกลางวัน เพราะลืมนำเงินมา
                        3) เงื่อนไข   
                                   * นักเรียนไม่สามารถกลับบ้านเพื่อไปเอาเงินได้
                        4) แนวทางหรือประสบการณ์เดิม
                                   * ยอมอดอาหารกลางวัน
                        5) แนวทางใหม่
                                   * ปรึกษาเพื่่อนคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์คล้ายกัน
                                   * ปรึกษาครูแนะแนวหรือครูประจำชั้น
                                   * ขอรับประทานอาหารกับเพื่อนสนิท
 ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการแก้ปั้ญหา
                       1) บันทึกทางเลือกไว้ทุกประเด็นที่สามารถเป็นไปได้
                       2) ลำดับความเป็นไปได้มากที่สุดของการแก้ปัญหา 2-3 วิธี เช่น 
                                   * ยอมอดอาหาร
                                   * ขอรับประทานอาหารกับเพื่อนสนิท
                                   * บอกเหตุผลกับครูประจำชั้นล
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการแก้ัปัญหา
                                   * ยอมอดอาหารกลางวัน (*ถ้าในขณะดำเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีอดอาหารกลางวัน เมือครูทราบเรื่องแล้วให้ยิมเงินไปซื้ออาหาร นักเรียนก็สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีแก้ปัญหาได้)
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและปรับปรุง
                                   * เมื่อดำเนินการแก้ปัญหาโดยยอมอดอาหารกลางวันแล้ว นักเรียนต้องนำผลการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้มาตรวจสอบว่าเป็นวิธีที่ดีหรือไม่ดี เช่น เมื่ออดอาหารกลางวันแล้วทำให้ปวดท้อง ไม่สามารถเรียนต่อได้ แสดงว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ดี นักเรียนต้องปรับปรุงและเปลี่ยนวิธีใหม่ที่ดีกว่านี้ ถ้าปัญหาเดิมซ้ำอีก


ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.

--------------------------------------------------------------------------------

คำถาม 

        นักเรียนคิดว่าขั้นตอนใดในการแก้ปัญหามีความสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ให้ตอบในช่องแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งระบุชื่อของผู้ตอบด้วย

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดการข้อมูลสารสนเทศ

การจัดการข้อมูลสารสนเทศ




มีวิธีการจัดการข้อมูลสารสนเทศดังต่อไปนี้
         
         1. การรวบรวมข้อมูล   หมายถึง  การนำข้อมูลจากหลายๆแหล่งข้อมูลและหลายๆชุดข้อมูล มาจัดเก็บไว้เพื่อรอการคัดกรอง ตรวจสอบ ก่อนนำไปจัดทำเป็นสารสนเทศต่อไป
        
         2. การตรวจสอบข้อมูล  
                   ข้อมูลที่ได้มาจากการสืบค้นบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมากมายนั้น ก่อนจะนำไปประมวลผลเพื่อจัดทำสารสนเทศ ควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และเลือกเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับเป้าหมายการนำไปใช้เท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลมีประเด็นที่ควรคำนึงดังนี้
              - ข้อมูลมีความถูกต้องและทันสมัย
              - มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือกำกับไว้
              - ผู้เขียนเนื้อหาเป็นใคร เป็นหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐ หรือบุคคลทั่วไป
              - ถ้าเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน หากหลายๆแหล่งข้อมูลกล่าวไว้ตรงกัน ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
          
         3. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
                   เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลตามที่สนใจจากที่ต่างๆแล้ว ให้นำข้อมูลมาดำเนินการอาจเป็นการคำนวณกรณีข้อมูลเป็นตัวเลข  หรือเรียงลำดับ จัดกลุ่ม ซึ่งล้วนเป็นการประมวลผล (processing) ทั้งสิ้น การประมวลผลข้อมูลสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
                  3.1 การเตรียมข้อมูล (Input)  ในขั้นตอนนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลให้เหมาะสม เช่น การทำรหัสแทนข้อมูลจริง เช่น ชาย แทนด้วย 1 ส่วนหญิง แทนด้วย 2 จากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อคอมพิวเตอร์ 
                  3.2 การประมวลผล  (Processing) นำข้อมูลมามาดำเนินการคำนวณเพื่อหาค่าทางสถิติต่างๆ ปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในคำนวณ 
                  3.3 การรายงานผล (Output)  เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ที่ต้องการสารสนเทศนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างสะดวก ง่าย และมองเห็นภาพ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตาราง ภาพ แผนภูมิชนิดต่างๆ 

            4. การเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
                    เมื่อได้ข้อมูลและสารสนเทศแล้ว ควรมีการเก็บรักษาไว้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศดัวย ดังนี้
                   4.1 การบันทึกข้อมูลในสือบันทึกต่างๆ เช่น ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (Hard Disk) แผ่นดิสก์ (Diskette)  และในการเลือกสื่อบันทึกข้อมูลจะต้องพิจารณาถึงความทนทาน สะดวกต่อการจะเรียกใช้งาน
                   4.2 การทำสำเนาถาวร  เป็นการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการแจกจ่ายข้อมูลและสารสนเทศไปยังผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์หรือการส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ ดังนั้นการทำสำเนาจึงต้องมีความสำคัญ ซึ่งการทำสำเนาเอกสารมีหลายแบบ เช่น การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร จัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล การถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นต้น
          สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการเก็บรักษาข้อมูล จาก                 www.school.obec.go.th/kudhauchangless5011.htm

ที่มา : หนังสือคู่มือครู วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ป.6 : สำนักพิมพ์ อจท.

**************************************************************

ใบงาน  

           ให้นักเรียนสร้างเนื้อหาความรู้ เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ มาอย่างน้อย 5 ชนิด  ลงในบล็อกส่วนตัวและจัดทำลิงค์เชื่อมโยงบนกระดานแสดงความคิดเห็นมาด้วย